top of page

 ผลจากแบบสำรวจปี  2024

ผลจากแบบสำรวจในแต่ละระดับ 

รายงานความคืบหน้าจากการสำรวจใช้เพื่อจัดอันดับบริษัทจากระดับ A ถึง D สิ่งสำคัญที่ต้องแจ้งให้ทราบก็คือ ซิเนอร์เจีย แอนนิมอลไม่ได้เตรวจสอบความคืบหน้าในการเปลี่ยนแปลงของบริษัท ตัวเลขที่ปรากฏในรายงานอ้างอิงจากข้อมูลที่บริษัทส่งให้เราเท่านั้น 

A

ระดับ

70 บริษัทในเอเชียหรือประเทศในเอเชียเปลี่ยนมาใช้ไข่ไก่ปลอดกรงแล้ว 100% บริษัทเหล่านี้ส่วนใหญ่ไม่ได้รับการติดต่อจากเราเพื่อเข้าร่วมการสำรวจในปีนี้ เพราะว่ามีการเปลี่ยนแล้วเสร็จในปีที่ผ่านมา แต่เราอยากเชิญบริษัทเหล่านี้เข้าร่วมในรายงานของเราเพื่อชื่นชมความสำเร็จของพวกเขา! ยกเว้น Groupe Le Duff ซึ่งรายงานว่าเปลี่ยนแปลงมาใช้ไข่ไก่ปลอดกรงแล้ว 100% ในทวีปเอเชีย นอกจากนี้ยังมี Pizza Express ที่รายงานความคืบหน้าแล้ว 100% ในประเทศอินโดนีเซียแต่ยังไม่รวมอินเดีย และยังรวมถึง Subway Indonesia ที่ประกาศนโยบายแล้ว 100% 

B

ระดับ

บริษัท 27 แห่งประกาศนโยบายที่มีความชัดเจนและรายงานความคืบหน้าในการปรับเปลี่ยนไป ช้นโยบายไข่ไก่ปลอดกรงในภูมิภาคเอเชียหรือในระดับประเทศ โดยการรายงานความคืบหน้าจะอยู่ระหว่าง 0 - 99%  

C

ระดับ

บริษัท 36 แห่งประกาศนโยบายไข่ไก่ปลอดกรงและแบ่งปันความคืบหน้าบางส่วนแต่ยังขาดข้อมูลความคืบหน้าระดับภูมิภาคหรือระดับประเทศ 

*

*นโยบายไข่ไก่ปลอดกรงของสตาร์บัคส์ประกาศใช้ครอบคลุมเพียงสาขาที่บริษัทดำเนินการเองเท่านั้น ในทวีปเอเชียจึงครอบคลุมเพียงสาขาในประเทศญี่ปุ่นและจีน 

D

ระดับ

บริษัท 14 แห่งประกาศนโยบายไข่ไก่ปลอดกรงแล้วแต่ยั งขาดการรายงานความคืบหน้าในระดับโลก ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ 

*

*Subway ยังไม่มีการรายงานความคืบหน้าหรือประกาศนโยบายไข่ไก่ปลอดกรงสำหรับประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย และญี่ปุ่น ณ ขณะที่ตีพิมพ์รายงานฉบับนี้ 

ผลสำรวจอื่นๆ

  • ตามนโยบายไข่ไก่ปลอดกรงในปีนี้ Subway (อินโดนีเซีย) และ Groupe Le Duff ประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนมาใช้ไข่ไก่ปลอดกรงแบบ 100% ซึ่งทำให้บริษัทอยู่ในระดับ A ร่วมกับบริษัทอื่นอีก 67 บริษัท เช่น Danone, Barilla Group และ Marks and Spencer

  • 27 บริษัท (เพิ่มขึ้นจาก 20 บริษัทในปีที่แล้ว) จัดอยู่ในระดับ B โดยมีความคืบหน้าที่สำคัญจาก Club Med, Kempinski และ Sodexo 

  • ในระดับ C มี 36 บริษัท (เพิ่มขึ้นจาก 31 บริษัทในปีที่แล้ว) มุ่งมั่นผลักดันนโยบายไข่ไก่ปลอดกรง โดยมีความคืบหน้าที่โดดเด่นจาก Le Pain Quotidien

  • ในระดับ D มี 14 บริษัท (เพิ่มขึ้นจาก 13 บริษัทในปีที่แล้ว) ซึ่งหลายบริษัทที่ไม่ได้รายงานก่อนหน้านี้ได้ให้ข้อมูลของตนในปีนี้ รวมถึง Aman, Le Pain Quotidien, Melía Hotels และ Subway (อินโดนีเซีย)

  • ซิเนอร์เจีย แอนนิมอล กระตุ้นให้บริษัทต่างๆ ที่อยู่ในระดับ D ที่มีกำหนดเวลาภายในปี 2568 เร่งดำเนินการ ได้แก่ Au Bon Pain, Best Western, Chatrium, Food Passion, Groupe Savencia, Illy, Millennium & Copthorne Hotels, Pierre Hermé, REWE และ Subway เพื่อให้สอดคล้องกับความคืบหน้าของบริษัทคู่แข่งและปฏิบัติตามนโยบายไข่ไก่ปลอดกรงอย่างเต็มที่

ข้อมูลที่สำคัญและความท้าท้ายอื่นๆ

ภาคธุรกิจที่มีจำนวนบริษัทรายงานความคืบหน้าสูงสุดในรายงานปีนี้ได้แก่กลุ่มร้านอาหารและคาเฟ่ รวมเป็นจำนวนการ ประกาศนโยบายไข่ไก่ปลอดกรงทั้งสิ้น 29 คำมั่น ภาคธุรกิจที่มาเป็นอันดับสองและอันดับสามคือ ธุรกิจโรงแรมและผู้ผลิต โดยมีคำประกาศนโยบาย 28 และ 11 บริษัทตามลำดับ บริษัทผู้ให้บริการด้าน อาหารเป็นอันดับที่สี่ด้วยการประกาศนโยบายจาก 6 บริษัท และตามมาด้วยร้านค้าปลีกทั้งหมด 4 บริษัท

grafico-02.jpg

ความท้าทาย

หนึ่งในอุปสรรคที่บริษัทพบบ่อยๆ ที่ทำให้ไม่สามารถเปลี่ยนไปใช้ไข่ไก่ปลอดกรงก็คือ 

inspection.png

การหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน: ไข้หวัดนกยังคงสร้างผลกระทบต่อการจัดหาไข่ไก่ทั่วโลก ทำให้ส่งผลต่อผลิตภัณฑ์ไข่ไก่ในในบางตลาด เช่น ญี่ปุ่นและจีน นอกจากนี้โรคระบาดโควิด 19 ยังมีการพูดถึงว่า มีผลต่อห่วงโซ่อุปทาน การบริการและความพร้อมของผลิตภัณฑ์ 

money-management.png

ราคาไข่ไก่ปลอดกรงที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับไข่ไก่ในระบบกรงตับและความไม่เต็มใจของผู้บริโภคที่จะจ่ายราคาแพงขึ้น

chaine-dapprovisionnement.png

ผู้ผลิต ไข่ไก่ปลอดกรงที่ มีใบรับรองมีจำกัด

big-data.png

 การเก็บรวบรวมข้อมูล ให้เป็นอันหนึ่งเดียวกัน การเก็บข้อมูลการใช้ไข่ไก่จากพันธมิตรหลายรายที่ดำเนินการในภูมิภาคต่างๆ ทำให้เกิดความท้าทายในการคำนวนความคืบหน้าโดยเฉลี่ยระดับโลก

marketer.png

ราคาวัตถุดิบ ที่เพิ่มขึ้น เกษตรกรไม่เต็มใจที่จะลงทุนกับการทำฟาร์มปร

ะเภทใหม่เนื่องจากความไม่แน่นอนในตลาด

bottom of page